...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...จังหวัดนครศรีธรรมราช...ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี..

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การนําสมุนไพรมาใช้รักษาโรคในสัตว์

การใช้สมุนไพรนอกจากใช้เป็นยารักษาโรคในคนแล้ว ยังมีการนํ าสมุนไพรมาใช้รักษาโรคในสัตว์ ทั้งสัตว์บก เช่น ช้าง สุกร สัตว์ปีก เช่น ไก่ และสัตว์นํ้ าเช่น กุ้ง เป็นต้น ข้อดีของการใช้ยา
สมุนไพรคือ ราคาถูกกว่ายาแผนปัจจุบัน ทํ าให้ลดต้นทุนในการผลิตสัตว์ในเชิงธุรกิจ และยาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะเช่น Kanamycin ซึ่งใช้รักษาโรคลําไส้อักเสบ ลดจํ านวนเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ใช้รักษาโรคบิดมูกเลือดในลูกสุกร โรคติดเชื้อในลํ าไส้ไก่ เมื่อใช้กับสัตว์ที่ใช้เนื้อเป็นอาหาร ยาส่วนที่ตกค้างจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ยาอีกชนิดหนึ่งคือ chloramphenical เป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แต่ทําให้เกิดพิษต่อระบบการสร้างเม็ดเลือดโดยกดไขกระดูก จึงไม่ควรใช้กับสัตว์เศรษฐกิจเพราะมีพิษตกค้างต่อผู้บริโภคเช่นกัน
การเกิดโรคในสัตว์โดยทั่วไปเกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ
โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว อีกสาเหตุคือโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่การจัดการที่ไม่ดีและการได้รับอาหารไม่เพียงพอ การใช้สมุนไพรจะนิยมใช้รักษาโรคติดเชื้อในระบบต่างๆ เช่นระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาบํารุงอีกด้วย
สมุนไพรที่นิยมใช้
ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ลดการอักเสบ รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เหง้าขมิ้นตํ าผสมกับพลูคลุกกับปูนกินหมาก ใช้รักษาแผลให้ช้างทั้งแผลสด แผลมีหนองและกันแมลงบริเวณแผล ผู้เลี้ยงไก่ชนใช้ขมิ้นกับสมุนไพรอื่นๆ เช่นส่วนผสมของสมุนไพรที่ใช้ต้มเป็นนํ้ ายาสมุนไพรอาบให้ไก่ชนประกอบด้วย ใบมะขาม ใบส้มป่อย ไม้ฤาษีผสม ใบคุระ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ไม้กระดูกไก่ เปลือกไม้โอน ต้มรวมกันในนํ้าเดือด นํานํ้าที่ต้มได้มาอาบให้ไก่ชนเพื่อให้ไก่มีหนังเหนียว ไม่ฉีกง่ายเวลาโดนจิกหรือตี หรือสูตรแก้ไก่เป็นหวัด บิด ท้องเสีย จะใช้ขมิ้นชัน 7 กรัม ผสมฟ้าทะลายโจร 144 กรัม ไพล 29 กรัม บดผสมอาหารลูกไก่ 100 กิโลกรัม
ฟ้าทะลายโจร แก้หวัด ทอนซิลอักเสบ มีการทดลองนํ าฟ้าทะลายโจร ขมิ้นและไพลมาผสมอาหารให้ไก่กินในอัตราส่วน 50-75 กรัมต่ออาหาร 3 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคต่างๆในสัตว์
ไพล มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ใช้ภายนอกเป็นยาประคบร้อน พอกแก้ฟกชํ้ า บวม ลดการอักเสบ ทําให้ประสาทชาช่วยลดอาการปวดได้ ควาญช้างในภาคเหนือใช้หัวไพลเป็นยาบํ ารุง แก้อาการช้างเหนื่อยจากการทํ างานหนัก
บอระเพ็ด ต้นและเถาเป็นยาบํารุงกําลัง ลดไข้ ลดการอักเสบ กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ ไล่แมลง ควาญช้างภาคเหนือใช้เถาบอระเพ็ดบํ ารุงแก้ช้างเหนื่อย เป็นยาเจริญอาหาร แก้อาการท้องผูกโดยใช้ร่วมกับมะขามเปียกและเกลือ ผู้เลี้ยงไก่ชนนํ าเถามาแช่ให้ไก่กิน เพื่อให้มีเนื้อแข็ง เรี่ยวแรงดีและเจริญอาหาร
พลู ในใบมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ในการชนไก่ ผู้ให้นํ้ าไก่จะนํ าใบพลูไปนาบกับกระเบื้องร้อนพอให้นํ้ ามันหอมระเหยออกมา แล้วนํ าไปประคบบริเวณลํ าตัวหรือหน้าอกเพื่อบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกหรือระงับอาการปวดแก่ไก่ชนหลังการต่อสู้
พญายอ สารสกัดพญายอสามารถป้องกันเชื้อไวรัส (Yellow Head Baculovirus) ที่ทําให้เกิดโรคหัวเหลืองในกุ้งกุลาดําได้อย่างดีและมีความปลอดภัยสูง นอกจากนั้นยังกระตุ้นขบวนการทําลายเชื้อโรคให้เพิ่มขึ้น
ส้มป่อย นํ ามาต้มอาบให้ไก่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนและเชื้อรา นํ้ าต้มใบส้มป่อยและฝักใช้หยอดให้ไก่กินช่วยขับเสลด เมล็ดนํามาตําหรือบดให้ละเอียดผสมนํ้าผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนให้ไก่กินเป็นยาถ่ายได้ นอกจากนี้ใบส้มป่อยยังใช้ แก้ท้องอืด ท้องผูก ถ่ายพยาธิให้ช้าง
กระเทียม แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อขับลม ขับลมเสมหะนํ้าลายเหนียวและรักษาอาการบวมชํ้าภายในของไก่ชน
ใบมะขาม ต้มรวมกับตะไคร้ ใบส้มป่อย ทําให้ไก่คึกคัก สบายตัว แก้หวัดทําให้หายใจคล่อง รูขนเปิด
กวาวเครือ มีการศึกษาการใช้กวาวเครือในสุกรโดยนํ ากวาวเครือบดแห้งมาผสมอาหารในอัตราส่วน 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ให้สุกรนํ้ าหนัก 30-100 กิโลกรัมกินนาน 2.5-3 เดือนพบว่าสุกรทั้งเพศผู้และเพศเมียมีการเจริญเติบโตดีขึ้น สุกรที่กินกวาวเครือมีการกินอาหารได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินและช่วยชะลอการเป็นสัด เมื่อหยุดให้กวาวเครือ 1.5-2 เดือน สุกรตัวเมียกลับมาเป็นสัดตามปกติและสามารถผสมพันธ์ให้ลูกได้ การทดลองในสุกรเพศผู้เมื่อให้กินกวาวเครือผสมอาหารขนาด 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ปรากฏว่าให้เนื้อแดงสูง มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
ผู้ที่เลี้ยงไก่ชนจะมีสูตรยาสมุนไพรต่างๆสํ าหรับไก่ชน เช่น
สูตรยาบํ ารุงกํ าลัง
สูตรที่ 1 ประกอบด้วย โสม เหง้ากระชาย พริกไทดํ า อย่างละ 1 ส่วน ปลาช่อนย่างป่น3 ส่วน นกกระจอกย่างป่น 1 ส่วน ไวตามิน เกลือแร่ นํ้ าผึ้ง บดผสมปั้นเป็นก้อนให้กินวันละ 2 มื้อ
สูตรที่ 2 ประกอบด้วย เปลือกตะโกนา 2 ส่วน กระชาย กระเทียม พริกไทอย่างละ 1ส่วน ปลาช่อนย่าง 1 ส่วน ผสมข้าวสุกคลุกไข่อบแห้ง 1 ส่วน ให้กินวันละ 2 มื้อ
ยาบํ ารุงธาตุประกอบด้วย เปลือกตะโกนา ขิงแห้ง ว่านนํ้ า ใบตํ าลึง เปลือกแคอย่างละ 1 ส่วน นํ ตัวยาทั้งหมดใส่หม้อเติมนํ้ าพอท่วม ต้มเคี่ยวประมาณ 15 นาที นํานํ้ายาที่ได้ให้ไก่กินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า- เย็น
ยาถ่ายพยาธิลุของเสีย
สูตรที่ 1 ประกอบด้วย หัวไพล 2 ส่วน ขมิ้นชัน 1 ส่วน กะเม็ง 1 ส่วน หมากดิบ 1 ส่วนกะปิ 1ส่วน มะขามเปียก 1ส่วน บดหรือตํ าให้ละเอียดผสมกันให้ไก่กินก่อนอาหารจนกว่าจะถ่ายหมด
สูตรที่ 2 ประกอบด้วย หมากดิบ 1 ลูก มะขามเปียก 1 ก้อน ปลาทูนึ่ง 1 ชิ้น นมผง 1ส่วนตําหรือบดให้เข้ากันกินตอนเช้า 1 ก้อนให้กินนํ้ามากๆ พอไก่ถ่ายพยาธิมาจุกก้นให้รีบดึงออกพยาธิจะติดออกมาเป็นพวงจนหมดท้องสมุนไพรที่ใช้ในสัตว์จะมีสรรพคุณคล้ายคลึงกับที่ใช้ในคน เช่นใช้บรเพ็ดเป็นยาเจริญอาหารเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอื่นที่นํ ามาใช้ซึ่งสมุนไพรที่มีชื่อไปในทางบํ ารุงก็มักจะใช้เป็นยาบํารุงกําลังทั้งคนและสัตว์เช่น กําลังวัวเถลิง กําลังเสือโคร่ง กําลังช้างสารเป็นต้น เปลือกต้นนมนาง ใช้บํารุงวัวนม เป็นต้น
ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การรักษาโรคที่เกิดขึ้น มีผลเสียมากกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เพราะทําให้สิ้นเปลืองเวลาและค่ารักษา นอกจากนั้นยังสูญเสียสัตว์จากการตาย ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคต่างๆในสัตว์มีผลทําให้เกิดการตกค้างและการดื้อยา มีผลเสียต่อการใช้ยานั้นในวงการแพทย์ สํ าหรับคนซึ่งนํ าเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาบริโภค สมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์ควรนํ ามาพิจารณา หากสามารถหาสมุนไพรทีใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ
ที่โดย สุปรียา ยืนยงสวัสดิ์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น