...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...จังหวัดนครศรีธรรมราช...ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี..

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การนำสมุนไพรมาใช้เลี้ยงสัตว์

การทำสมุนไพรต่างๆมาใช้ประโยชน์ปัจจุบันการใช้สมุนไพรเพื่อการป้องกันกำจัดหนอน แมลงโรคพืชต่างๆ สามารถผลิตสมุนไพรที่มีอยู่หลากหลายในประเทศไทย นำมาใช้แทนสารเคมีได้ โดยการเตรียมสมุนไพรด้วยวิธีสับสมุนไพรให้ละเอียด แล้วแช่น้ำ 1-2 วัน หรือแช่ด้วยแอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชูหรือการกลั่นวิธีการกลั่นสมุนไพรของจีนโบราณ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี แต่มีความยุ่งยากซับซ้อน อุปกรณ์เครื่องมือราคาแพง สมุนไพรที่ได้จากการมีความเข้มข้นมาก แต่จากการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย ได้คิดค้นวิธีที่จะนำสมุนไพรมาใช้โดยการใช้หม้อต้มชนิดควบคุมอุณหภูมิ และเมื่อนำสมุนไพรที่ได้จากการต้มไปทดสอบ ผลที่ได้สมุนไพรมีความเข้มข้นและมีคุณภาพสูง ใช้ได้ผลดีมาก เป็นวิธีการที่ควบคุมอุณหภูมิ ใช้ง่าย เหมาะที่เกษตรกรจะรวมกลุ่มกันผลิตใช้เนื่องจาก
1. ต้นทุนต่ำ ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก
2. ปริมาณสารสมุนไพรเข้มข้น
3. มีประสิทธิภาพในการใช้งาน
4. ควบคุมปริมาณการใช้ได้ง่าย
5. สามารถรักษาคุณภาพการผลิตแต่ละครั้งได้มาตรฐานเดียวกัน
ขั้นตอนการต้มสมุนไพร
1. ย่อยสมุนไพรเป็นชิ้นเล็กๆ ไม้เนื้อแข็งต้องสับให้ชิ้นเล็กมาก
2. นำสมุนไพรที่ย่อยใส่หม้อต้มเติมน้ำให้ท่วมสมุนไพร
3. นำขึ้นตั้งไฟ คอยสังเกตอย่าให้น้ำในภาชนะเดือด เมื่อเดือดให้ลดความร้อนลง
4. เมื่ออุณหภูมิลดลงก็ให้เร่งไฟให้ควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ไม่เกิน 90 องศาเซลเซียส
5. ใช้เวลาในการต้มนาน 10-12 ชั่วโมงจึงจะได้น้ำสมุนไพรที่มีความเข้มข้น
6. ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงกรอง ส่วนที่เป็นน้ำใสตักใส่แกลลอนไว้ใช้หรือจำหน่ายต่อไป
การทำสมุนไพรสูตรรวมมิตร ป้องกันกำจัดหนอนแมลง ไล่ เห็บ หมัดสมุนไพรที่ใช้ได้แก่ ว่านน้ำ สาบเสือ น้อยหน่า หนอนตายหยาก หางไหล ละหุ่ง ขมิ้นชัน ชะพลู สบู่ต้ขอบชะนาง ยาสูบ บอระเพ็ด ดีปรี พริกไทย ขิง ข่า กระเทียม หางจระเข้ ตะไคร้หอม แสยะ กะบูร มังคุด เงาะ แค งวงกล้วย ประทัดจีน ยี่โถ ดาวเรือง พริกสด สะเดาการหมักสมุนไพรสูตร 1. หมักในเอททิลแอลกอฮอล์ สูตร 2. เหล้าขาว 750 ซีซี..+หัวน้ำส้มสายซู 150 ซีซีสูตร 3. น้ำ 20 ลิตร + เหล้าขาว 750 ซีซี. + หัวน้ำส้มสายซู 150 ซีซี.สูตร 4. น้ำ 20 ลิตร + กากน้ำตาล 500 ซีซี. + จุลินทรีย์ 100 ซีซี สูตร 5. หมักด้วยน้ำเปล่าขั้นตอนและวิธีการหมัก
1. บด สับ โขลกสมุนไพรทั้งหมด แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. บรรจุภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ เติมสารหมักสมุนไพรให้ท่วม 2- 5 เท่า คนหรือเขย่าให้เข้ากันอีกครั้ง กดให้จมตลอดเวลา เก็บในที่ร่ม คนหรือเขย่าบ่อยๆ หมักนาน 7-10 วัน เริมนำมาใช้โดยน้ำหมักที่ได้คือหัวเชื้อการนำไปใช้ ใช้สารจับใบเช่นสบู่หรือน้ำยาล้างจานผสมขณะฉีดพ่นการใช้สมุนไพรจะมีประสิทธิภาพเต็มที่ อัตราการใช้ปกติ 20- 50ซีซี./น้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ทุก3-5วัน หัวเชื้อใหม่ๆมีสารออกฤทธิ์แรงมากหากใช้อัตราเข้มข้นเกินไปอาจทำให้ใบไหม้ได้ต้องทดลองใช้ก่อน1-2วันแล้วดูอาการของพืช ในสัตว์ใช้พ่นตามตัวสัตว์และบริเวณโรงเรือนเพื่อไล่แมลง ไร เห็บ หมัดได้ เช่นกัน

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สมุนไพรที่ใช้เลี้ยงสัตว์

แก้ว
แก้จุกเสียดแน่นท้อง เป็นยาบำรุงธาตุ และถ่าพยาธิตัวกลม
เถาคันขาว
เถา ขับเสมหะ ฟอกเลือด แก้ฟกช้ำภายใน แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด
ใบ แก้อาการอักเสบ ปิดบ่มฝีหนอง ดูดหนอง
พญายอ
ใบ แก้อาการอักเสบเฉพาะที่ ปวดบวมแดงร้อนแต้ไม่มีไข้
ปวดแสบปวดร้อนจากแมลงมีพิษกันต่อย
มะเฟีอง
แก้ตาเจ็บ รักษาโรคผิวหนัง ขี้เรื้อน ปากเปื่อยเป็นแผล
ใช้น้ำถูบริเวณที่เป็น
น้อยหน่า
ใบ รักษาภายนอก แก้ฟกบวม ฆ่าพยาธิผิวหนัง
กลากเกลื้อน และฆ่าเหา
เมล็ด รับประทานภายในเป็นยาขับพยาธิในลำใส้ ฆ่าเชื้อโรค

การนําสมุนไพรมาใช้รักษาโรคในสัตว์

การใช้สมุนไพรนอกจากใช้เป็นยารักษาโรคในคนแล้ว ยังมีการนํ าสมุนไพรมาใช้รักษาโรคในสัตว์ ทั้งสัตว์บก เช่น ช้าง สุกร สัตว์ปีก เช่น ไก่ และสัตว์นํ้ าเช่น กุ้ง เป็นต้น ข้อดีของการใช้ยา
สมุนไพรคือ ราคาถูกกว่ายาแผนปัจจุบัน ทํ าให้ลดต้นทุนในการผลิตสัตว์ในเชิงธุรกิจ และยาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะเช่น Kanamycin ซึ่งใช้รักษาโรคลําไส้อักเสบ ลดจํ านวนเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ใช้รักษาโรคบิดมูกเลือดในลูกสุกร โรคติดเชื้อในลํ าไส้ไก่ เมื่อใช้กับสัตว์ที่ใช้เนื้อเป็นอาหาร ยาส่วนที่ตกค้างจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ยาอีกชนิดหนึ่งคือ chloramphenical เป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แต่ทําให้เกิดพิษต่อระบบการสร้างเม็ดเลือดโดยกดไขกระดูก จึงไม่ควรใช้กับสัตว์เศรษฐกิจเพราะมีพิษตกค้างต่อผู้บริโภคเช่นกัน
การเกิดโรคในสัตว์โดยทั่วไปเกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ
โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว อีกสาเหตุคือโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่การจัดการที่ไม่ดีและการได้รับอาหารไม่เพียงพอ การใช้สมุนไพรจะนิยมใช้รักษาโรคติดเชื้อในระบบต่างๆ เช่นระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาบํารุงอีกด้วย
สมุนไพรที่นิยมใช้
ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ลดการอักเสบ รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เหง้าขมิ้นตํ าผสมกับพลูคลุกกับปูนกินหมาก ใช้รักษาแผลให้ช้างทั้งแผลสด แผลมีหนองและกันแมลงบริเวณแผล ผู้เลี้ยงไก่ชนใช้ขมิ้นกับสมุนไพรอื่นๆ เช่นส่วนผสมของสมุนไพรที่ใช้ต้มเป็นนํ้ ายาสมุนไพรอาบให้ไก่ชนประกอบด้วย ใบมะขาม ใบส้มป่อย ไม้ฤาษีผสม ใบคุระ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ไม้กระดูกไก่ เปลือกไม้โอน ต้มรวมกันในนํ้าเดือด นํานํ้าที่ต้มได้มาอาบให้ไก่ชนเพื่อให้ไก่มีหนังเหนียว ไม่ฉีกง่ายเวลาโดนจิกหรือตี หรือสูตรแก้ไก่เป็นหวัด บิด ท้องเสีย จะใช้ขมิ้นชัน 7 กรัม ผสมฟ้าทะลายโจร 144 กรัม ไพล 29 กรัม บดผสมอาหารลูกไก่ 100 กิโลกรัม
ฟ้าทะลายโจร แก้หวัด ทอนซิลอักเสบ มีการทดลองนํ าฟ้าทะลายโจร ขมิ้นและไพลมาผสมอาหารให้ไก่กินในอัตราส่วน 50-75 กรัมต่ออาหาร 3 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคต่างๆในสัตว์
ไพล มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ใช้ภายนอกเป็นยาประคบร้อน พอกแก้ฟกชํ้ า บวม ลดการอักเสบ ทําให้ประสาทชาช่วยลดอาการปวดได้ ควาญช้างในภาคเหนือใช้หัวไพลเป็นยาบํ ารุง แก้อาการช้างเหนื่อยจากการทํ างานหนัก
บอระเพ็ด ต้นและเถาเป็นยาบํารุงกําลัง ลดไข้ ลดการอักเสบ กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ ไล่แมลง ควาญช้างภาคเหนือใช้เถาบอระเพ็ดบํ ารุงแก้ช้างเหนื่อย เป็นยาเจริญอาหาร แก้อาการท้องผูกโดยใช้ร่วมกับมะขามเปียกและเกลือ ผู้เลี้ยงไก่ชนนํ าเถามาแช่ให้ไก่กิน เพื่อให้มีเนื้อแข็ง เรี่ยวแรงดีและเจริญอาหาร
พลู ในใบมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ในการชนไก่ ผู้ให้นํ้ าไก่จะนํ าใบพลูไปนาบกับกระเบื้องร้อนพอให้นํ้ ามันหอมระเหยออกมา แล้วนํ าไปประคบบริเวณลํ าตัวหรือหน้าอกเพื่อบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกหรือระงับอาการปวดแก่ไก่ชนหลังการต่อสู้
พญายอ สารสกัดพญายอสามารถป้องกันเชื้อไวรัส (Yellow Head Baculovirus) ที่ทําให้เกิดโรคหัวเหลืองในกุ้งกุลาดําได้อย่างดีและมีความปลอดภัยสูง นอกจากนั้นยังกระตุ้นขบวนการทําลายเชื้อโรคให้เพิ่มขึ้น
ส้มป่อย นํ ามาต้มอาบให้ไก่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนและเชื้อรา นํ้ าต้มใบส้มป่อยและฝักใช้หยอดให้ไก่กินช่วยขับเสลด เมล็ดนํามาตําหรือบดให้ละเอียดผสมนํ้าผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนให้ไก่กินเป็นยาถ่ายได้ นอกจากนี้ใบส้มป่อยยังใช้ แก้ท้องอืด ท้องผูก ถ่ายพยาธิให้ช้าง
กระเทียม แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อขับลม ขับลมเสมหะนํ้าลายเหนียวและรักษาอาการบวมชํ้าภายในของไก่ชน
ใบมะขาม ต้มรวมกับตะไคร้ ใบส้มป่อย ทําให้ไก่คึกคัก สบายตัว แก้หวัดทําให้หายใจคล่อง รูขนเปิด
กวาวเครือ มีการศึกษาการใช้กวาวเครือในสุกรโดยนํ ากวาวเครือบดแห้งมาผสมอาหารในอัตราส่วน 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ให้สุกรนํ้ าหนัก 30-100 กิโลกรัมกินนาน 2.5-3 เดือนพบว่าสุกรทั้งเพศผู้และเพศเมียมีการเจริญเติบโตดีขึ้น สุกรที่กินกวาวเครือมีการกินอาหารได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินและช่วยชะลอการเป็นสัด เมื่อหยุดให้กวาวเครือ 1.5-2 เดือน สุกรตัวเมียกลับมาเป็นสัดตามปกติและสามารถผสมพันธ์ให้ลูกได้ การทดลองในสุกรเพศผู้เมื่อให้กินกวาวเครือผสมอาหารขนาด 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ปรากฏว่าให้เนื้อแดงสูง มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
ผู้ที่เลี้ยงไก่ชนจะมีสูตรยาสมุนไพรต่างๆสํ าหรับไก่ชน เช่น
สูตรยาบํ ารุงกํ าลัง
สูตรที่ 1 ประกอบด้วย โสม เหง้ากระชาย พริกไทดํ า อย่างละ 1 ส่วน ปลาช่อนย่างป่น3 ส่วน นกกระจอกย่างป่น 1 ส่วน ไวตามิน เกลือแร่ นํ้ าผึ้ง บดผสมปั้นเป็นก้อนให้กินวันละ 2 มื้อ
สูตรที่ 2 ประกอบด้วย เปลือกตะโกนา 2 ส่วน กระชาย กระเทียม พริกไทอย่างละ 1ส่วน ปลาช่อนย่าง 1 ส่วน ผสมข้าวสุกคลุกไข่อบแห้ง 1 ส่วน ให้กินวันละ 2 มื้อ
ยาบํ ารุงธาตุประกอบด้วย เปลือกตะโกนา ขิงแห้ง ว่านนํ้ า ใบตํ าลึง เปลือกแคอย่างละ 1 ส่วน นํ ตัวยาทั้งหมดใส่หม้อเติมนํ้ าพอท่วม ต้มเคี่ยวประมาณ 15 นาที นํานํ้ายาที่ได้ให้ไก่กินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า- เย็น
ยาถ่ายพยาธิลุของเสีย
สูตรที่ 1 ประกอบด้วย หัวไพล 2 ส่วน ขมิ้นชัน 1 ส่วน กะเม็ง 1 ส่วน หมากดิบ 1 ส่วนกะปิ 1ส่วน มะขามเปียก 1ส่วน บดหรือตํ าให้ละเอียดผสมกันให้ไก่กินก่อนอาหารจนกว่าจะถ่ายหมด
สูตรที่ 2 ประกอบด้วย หมากดิบ 1 ลูก มะขามเปียก 1 ก้อน ปลาทูนึ่ง 1 ชิ้น นมผง 1ส่วนตําหรือบดให้เข้ากันกินตอนเช้า 1 ก้อนให้กินนํ้ามากๆ พอไก่ถ่ายพยาธิมาจุกก้นให้รีบดึงออกพยาธิจะติดออกมาเป็นพวงจนหมดท้องสมุนไพรที่ใช้ในสัตว์จะมีสรรพคุณคล้ายคลึงกับที่ใช้ในคน เช่นใช้บรเพ็ดเป็นยาเจริญอาหารเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอื่นที่นํ ามาใช้ซึ่งสมุนไพรที่มีชื่อไปในทางบํ ารุงก็มักจะใช้เป็นยาบํารุงกําลังทั้งคนและสัตว์เช่น กําลังวัวเถลิง กําลังเสือโคร่ง กําลังช้างสารเป็นต้น เปลือกต้นนมนาง ใช้บํารุงวัวนม เป็นต้น
ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การรักษาโรคที่เกิดขึ้น มีผลเสียมากกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เพราะทําให้สิ้นเปลืองเวลาและค่ารักษา นอกจากนั้นยังสูญเสียสัตว์จากการตาย ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคต่างๆในสัตว์มีผลทําให้เกิดการตกค้างและการดื้อยา มีผลเสียต่อการใช้ยานั้นในวงการแพทย์ สํ าหรับคนซึ่งนํ าเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาบริโภค สมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์ควรนํ ามาพิจารณา หากสามารถหาสมุนไพรทีใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ
ที่โดย สุปรียา ยืนยงสวัสดิ์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การนำสมุนไพรมาใช้เลี้ยงสัตว์

การทำสมุนไพรต่างๆมาใช้ประโยชน์ปัจจุบันการใช้สมุนไพรเพื่อการป้องกันกำจัดหนอน แมลงโรคพืชต่างๆ สามารถผลิตสมุนไพรที่มีอยู่หลากหลายในประเทศไทย นำมาใช้แทนสารเคมีได้
โดยการเตรียมสมุนไพรด้วยวิธีสับสมุนไพรให้ละเอียด แล้วแช่น้ำ 1-2 วัน หรือแช่ด้วยแอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชูหรือการกลั่นวิธีการกลั่นสมุนไพรของจีนโบราณ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี แต่มีความยุ่งยากซับซ้อน อุปกรณ์เครื่องมือราคาแพง สมุนไพรที่ได้จากการมีความเข้มข้นมาก แต่จากการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย ได้คิดค้นวิธีที่จะนำสมุนไพรมาใช้โดยการใช้หม้อต้มชนิดควบคุมอุณหภูมิ และเมื่อนำสมุนไพรที่ได้จากการต้มไปทดสอบ ผลที่ได้สมุนไพรมีความเข้มข้นและมีคุณภาพสูง ใช้ได้ผลดีมาก เป็นวิธีการที่ควบคุมอุณหภูมิ ใช้ง่าย เหมาะที่เกษตรกรจะรวมกลุ่มกันผลิตใช้เนื่องจาก
1. ต้นทุนต่ำ ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก
2. ปริมาณสารสมุนไพรเข้มข้น
3. มีประสิทธิภาพในการใช้งาน
4. ควบคุมปริมาณการใช้ได้ง่าย
5. สามารถรักษาคุณภาพการผลิตแต่ละครั้งได้มาตรฐานเดียวกัน
ขั้นตอนการต้มสมุนไพร
1. ย่อยสมุนไพรเป็นชิ้นเล็กๆ ไม้เนื้อแข็งต้องสับให้ชิ้นเล็กมาก
2. นำสมุนไพรที่ย่อยใส่หม้อต้มเติมน้ำให้ท่วมสมุนไพร
3. นำขึ้นตั้งไฟ คอยสังเกตอย่าให้น้ำในภาชนะเดือด เมื่อเดือดให้ลดความร้อนลง
4. เมื่ออุณหภูมิลดลงก็ให้เร่งไฟให้ควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ไม่เกิน 90 องศาเซลเซียส
5. ใช้เวลาในการต้มนาน 10-12 ชั่วโมงจึงจะได้น้ำสมุนไพรที่มีความเข้มข้น
6. ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงกรอง ส่วนที่เป็นน้ำใสตักใส่แกลลอนไว้ใช้หรือจำหน่ายต่อไป
การทำสมุนไพรสูตรรวมมิตร ป้องกันกำจัดหนอนแมลง ไล่ เห็บ หมัด
สมุนไพรที่ใช้ได้แก่ ว่านน้ำ สาบเสือ น้อยหน่า หนอนตายหยาก หางไหล ละหุ่ง ขมิ้นชัน ชะพลู สบู่ต้ขอบชะนาง ยาสูบ บอระเพ็ด ดีปรี พริกไทย ขิง ข่า กระเทียม หางจระเข้ ตะไคร้หอม แสยะ กะบูร มังคุด เงาะ แค งวงกล้วย ประทัดจีน ยี่โถ ดาวเรือง พริกสด สะเดา
การหมักสมุนไพร
สูตร1. หมักในเอททิลแอลกอฮอล์ สูตร
สูตร2. เหล้าขาว 750 ซีซี..+หัวน้ำส้มสายซู 150 ซีซีสูตร
สูตร3. น้ำ 20 ลิตร + เหล้าขาว 750 ซีซี. + หัวน้ำส้มสายซู 150 ซีซี.สูตร
สูตร4. น้ำ 20 ลิตร + กากน้ำตาล 500 ซีซี. + จุลินทรีย์ 100 ซีซี
สูตร 5. หมักด้วยน้ำเปล่า
ขั้นตอนและวิธีการหมัก
1. บด สับ โขลกสมุนไพรทั้งหมด แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. บรรจุภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ เติมสารหมักสมุนไพรให้ท่วม 2- 5 เท่า คนหรือเขย่าให้เข้ากันอีกครั้ง กดให้จมตลอดเวลา เก็บในที่ร่ม คนหรือเขย่าบ่อยๆ หมักนาน 7-10 วัน เริมนำมาใช้โดยน้ำหมักที่ได้คือหัวเชื้อการนำไปใช้ ใช้สารจับใบเช่นสบู่หรือน้ำยาล้างจานผสมขณะฉีดพ่นการใช้สมุนไพรจะมีประสิทธิภาพเต็มที่ อัตราการใช้ปกติ 20- 50ซีซี./น้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ทุก3-5วัน หัวเชื้อใหม่ๆมีสารออกฤทธิ์แรงมากหากใช้อัตราเข้มข้นเกินไปอาจทำให้ใบไหม้ได้ต้องทดลองใช้ก่อน1-2วันแล้วดูอาการของพืช ในสัตว์ใช้พ่นตามตัวสัตว์และบริเวณโรงเรือนเพื่อไล่แมลง ไร เห็บ หมัดได้ เช่นกัน

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สมุนไพรไทย"ปราบชิคุนกุนยา"

กะเพรา-มะกรูด-ดาวเรือง ไล่ยุงได้ผลเกินคาด

แม้ไข้ปวดข้อหรือไข้ชิคุนกุนยาจะระบาดหนัก แต่ก็ใช่จะไม่มีทางแก้ไข!!! นี่คงเป็นเสมือนการย้ำเตือนที่ว่าไม่มีอะไรที่ยากไปกว่าความสามารถของมนุษย์

ตามที่เราทราบกันดีว่า โรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกนั้น มีพาหะชนิดเดียวกัน คือ “ยุงลาย” แต่ต่างกันที่โรคชิคุนกุนยานั้นร้ายแรงน้อยกว่าไข้เลือดออก ตรงที่ไข้เลือดออกนั้นทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนชิคุนกุนยานั้นทำให้เกิดอาการปวดข้อต่างๆ อย่างรุนแรงและแสนทรมานแต่ไม่ทำให้เสียชีวิต

การป้องกันโรคทั้ง 2 โรคนั้น จึงเป็นเรื่องที่เราควรใส่ใจเพราะทำได้ไม่ยาก หากมีการวางแผนรับมือกับยุงลายตั้งแต่เนิ่นๆ การแพร่ระบาดก็จะลดลง เริ่มต้นได้ภายในบ้านของเราเอง อย่างเช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ต้นตอสำคัญของการเกิดยุง ด้วยการคว่ำถ้วย ชาม กะละมัง กะลา ยางรถยนต์ ไม่ให้มีน้ำขัง ปิดภาชนะทุกครั้งหลังใช้งาน แม้แต่กระถางปลูกไม้น้ำ หรือกระถางต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ หรือแจกันประดับบ้าน ก็ควรจะหาปลาหางนกยูงหรือปลากัดมาเลี้ยงเพื่อช่วยกินลูกน้ำยุง และควรหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกอาทิตย์ เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของลูกน้ำยุงลาย

สมุนไพรในบ้านเมืองเราหลายชนิด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดยุง ทั้งยังปลอดภัยกว่าสารเคมีฉีดพ่นแบบกระป๋องหรือแบบขดเป็นไหนๆ ที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลายก็คือ ตะไคร้หอมไล่ยุง ที่มีทั้งแบบธูปและแบบสเปรย์ฉีด ในตะไคร้หอมนั้นจะมีน้ำมันหอมระเหยที่เป็นสารออกฤทธิ์ไล่ยุง บ้านใครที่ยุงเยอะแนะนำให้ปลูกต้นตะไคร้ไว้รอบๆ บ้าน จะช่วยลดปริมาณยุงมากวนใจได้อย่างมากเลยทีเดียว

สมุนไพรอื่นๆ นอกจากตะไคร้หอมที่ยุงเกรงกลัว ยังมีกะเพรา ดอกดาวเรือง ขมิ้น และพืชในตระกูลส้ม เช่น มะกรูด ส้มโอ เป็นต้น พืชที่กล่าวมานี้สามารถนำไปใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ทั้งสิ้น อีกทั้งยังได้ผลเกินคาดเสียด้วย

ยกตัวอย่างใน กะเพรา ผักประจำบ้านของไทยนั้น มีน้ำมันหอมระเหยที่สามารถไล่ยุงได้ แค่นำกะเพราไปเป็นส่วนผสมในธูป เทียน หรือนำใบกะเพรามาขยี้ให้น้ำมันหอมระเหยออกมา จากนั้นนำมาวางใกล้ๆ ตัว ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยในใบกะเพราจะระเหยออกมากำจัดยุงได้เช่นกัน

ดอกดาวเรือง ดอกไม้กลิ่นฉุนนั้นสามารถใช้ไล่แมลงได้ดีนัก เพียงปลูกไว้ใกล้ๆ บ้าน ประสิทธิภาพความฉุน (มาก) ของดอกดาวเรือง จะช่วยไล่ทั้งยุงและแมลงไม่พึงประสงค์ได้ อีกทั้งสารสกัดจากดอกดาวเรืองนั้นยังใช้ในการกำจัดลูกน้ำได้ดีอีกต่างหาก

พืชในตระกูลส้มทั้งหลาย อย่างส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะกรูด เมื่อทานหรือคั้นเอาแต่น้ำไปใช้แล้วอย่าทิ้ง นำเปลือกมาตากแห้งเผาไฟไล่ยุงได้ดีนัก แต่เวลาที่จะเผาใช้งานควรคำนึงถึงที่อยู่อาศัยและกะปริมาณในการใช้งานให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง โดยขณะที่เผาน้ำมันหอมระเหยจะทำให้ยุงไม่กล้าเข้ามาใกล้

สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ คือ โรคชิคุนกุนยานั้นยังไม่มีวัคซีนตัวใดที่รักษาได้โดยตรงและอาจเกิดการกลายพันธุ์เป็นเชื้อตัวใหม่ได้ ที่ทำได้ตอนนี้แค่เพียงแต่ประคับประคองอาการป่วยเท่านั้น

แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ทางศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา ได้นำพืชสมุนไพรมากกว่า 20 ชนิด มาสกัดทำน้ำมันหม่องและยาหม่องสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อและลดผื่นแดงอันเกิดจากไข้ชิคุนกุนยา

นางดวงแก้ว อัลภาชน์ ครูชำนาญการ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา กล่าวว่า ได้ทำการทดลองสรรพคุณของตัวยาสมุนไพร ซึ่งพบว่าสามารถบรรเทาอาการปวดข้อและลดอาการผื่นแดงได้ภายใน 1 ชั่วโมง และทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ ก็ได้รับเงินงบประมาณจากจังหวัดยะลา ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำยาหม่องให้กับประชาชนที่สนใจทุกคน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสียงต่อการระบาดของโรคไข้ชิคุนกุนยา หากสนใจก็สามารถติดต่อไปได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดยะลา

ชิคุนกุนยาแม้ไม่ร้ายแรงถึงตาย แต่ความทรมานยามป่วยนั้นเจ็บปวดไปถึงใจกับเพียงแค่ยุงลายตัวเดียว เหมือนกับที่โบราณมักกล่าวไว้ว่า “ยุงร้ายกว่าเสือ” นั้นเห็นจะจริง!!